My Slideshow: Me’s trip to ไทย was created by TripAdvisor. See another ไทย slideshow. Take your travel photos and make a slideshow for free.

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

อินเทอร์เน็ตคืออะไร

           อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

             เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ(สหรัฐอเมริกา) กับรัสเซียเนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์สามารถสั่งการและทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูหรือขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบ เครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA(Advanced Research Projects Agency)และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า อินเทอร์เน็ต” (Internet)ในปัจจุบัน
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต  

                ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้ 
            ด้านการศึกษา สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
            
               ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

              ด้านการบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

              จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
- การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว
- แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร


สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเตอร์เน็ต

       ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ Internet Address จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ( User ) และ ชื่อของ อินเตอร์เน็ต ( Internet Name ) โดยจะมีรูปแบบ คือ                                                                                                                                             
                ชื่อผู้ใช้@ชื่อของอินเตอร์เน็ต , yourname@domain.xxx             ตัวอย่างเช่น tick@mail.ksc.net จะหมายถึงว่า ผู้ใช้ ใช้ชื่อ tick เป็นสมาชิก ของศูนย์บริการ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชื่อ mail ที่มีชื่ออินเตอร์เน็ตเป็น ksc.net.th หรือ thanop@thaiware.com หมายถึงว่าผู้ใช้ ใช้ชื่อ thanop เป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น thaiware.com หมายเลขอินเตอร์เน็ต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.151.217.158 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com
ชื่ออินเตอร์เน็ต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ต เนื่องจาก IP Address เป็น ตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , comnet3@ksc.net.th ( mail คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน )
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต

      โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
            ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)
           โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ
สำหรับ ความหมายของโดเมน ในเครือข่าย อินเตอร์เนต ก็ได้จำแนกออกมาทั้งหมด 6 ประเภท ด้วยกัน คือ :
.com - กลุ่มองค์การค้า ( Commercial)
 .edu - กลุ่มการการศึกษา ( Education )    
 .mit - กลุ่มองค์การทหาร ( Military )
 .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย ( Network Service )   
.org - กลุ่มองค์กรอื่นๆ (Organizations)    
  .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ( International)      
               ถ้า สังเกตดีๆ จะเห็นว่า ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เท่านั้น ที่จะมี โดเมน เป็นตัวอักษร 3 ตัว ในกรณีที่ ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ของเรา จะเป็นเพียงแค่ 2 ตัว เท่านั้น !!! เช่น microsoft.com ของประเทศ สหรัฐอเมริกา กับ ksc.net.th ของไทย นั่นเอง นอกจากนี้ ในบ้านเรามีการกำหนดชื่อโดเมน ขึ้นมา ใหม่ !!! อีก ด้วย อย่างเช่น internet.th.com จะหมายถึงว่า เครื่องที่ชี้ว่า internet อยู่ใน ประเทศไทย ( th ) และ เป็นบริษัททางการค้า ( com )                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
โดเมน ที่เป็นชื่อย่อของประเทศที่น่าสนใจ

Code
Name ( Thai )
Name ( English )
.au
ออสเตรเลีย
Australia
.fr
ฝรั่งเศส
France
.hk
ฮ่องกง
Hong Kong
.jp
ญี่ปุ่น
Japan
.th
ไทย
Thailand
.sg
สิงค์โปร์
Singapore
.uk
สหราชอาณาจักร
United Kingdom
.no
นอร์เวย์
Norway




ความหมายของ ซับโดเมน ในไทย

Code
Type ( Thai )
Type ( English )
.ac
สถาบันการศึกษา
Academic
.co
องค์กรธุรกิจ
Commercial
.or
องค์กรอื่นๆ
Organizations
.net
ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก
Networking
.go
หน่อยงานของรัฐบาล
Goverment
.in
หน่อยงานอิสระ
Individual / Incorporation
 


การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

      การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้                                      
 1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC    
 2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps) 
                    โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
                         2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน                                               
3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต    
 4.ซอฟต์แวร์  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ                                                                                         
              1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
                   2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora 
                   3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
            
                     การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ  
1.การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา 
 2.การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบการใช้อินเตอร์เน็ต  ผู้ใช้สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราเรียกว่า  ไอเอสพี   โดยการติดต่อขอใช้บริการผ่านตัวแทนไอเอสพีต่างๆได้โดยตรง สำหรับประเทศไทยเรามีไอเอสพีอยู่มากกว่า  15  แห่งซึ่งไอเอสพี คือบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต รวมถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาด้วย จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายจากประเทศไทยไปต่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายดาวเทียมหรือสายใยแก้วนำแสงของการสื่อสารแห่งประเทศไทย                                                                                            
     
ตัวอย่างไอเอสพีในประเทศไทย มีดังนี้                                                                                                                                          
   บริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย ชื่อเว็บไซต์ http://www.inet.co.th/                                                                             
   บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชัน  ชื่อเว็บไซต์ http://www.loxinfo.co.th/                                                                          
   บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต ชื่อเว็บไซต์ http://www.ksc.net.th/ 
   บริษัท สามารถอินโฟเน็ต จำกัด ชื่อเว็บไซต์ http://www.samart.co.th/                                                                                                                                                  
   บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ชื่อเว็บไซต์  http://www.a-net.net.th/
                 ถ้าเราต้องการใช้บริการจากตัวแทนของหน่วยงานใด เราก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้บริการอินเตอร์เน็ตนั้น โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมงหรือรายเดือนก็ได้ นอกจากนี้หลายบริษัทได้จัดทำชุดอินเตอร์เน็ตสำเร็จรูปออกจำหน่ายด้วย  สามารถซื้อได้จากตัวแทนทั่วไป
                     ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้ 
1.การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้  
2.การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
                                                                                                                                                                                    
                  


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้    
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com   
3.โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้  
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น 
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การสร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver  เป็นต้น